วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

หุ่นกระบอก

หุ่นกระบอก
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
เรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของหุ่นกระบอกในสมัยรัตนโกสินทร์จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ มีจดหมายลายพระหัตถ์ จากตำหนักปลายเนิน คลองเตย ลงวันที่ 12 กันยายน พุทธศักราช 2479 กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเฉพาะข้อความที่เกี่ยวกับหุ่นกระบอกมีว่า “วันหนึ่งเดินกลับจากบิณฑบาต พอถึงหน้าศาลเจ้าพ่อเสือก็พบคนขอทานตาบอดนั่งร้องเพลงสีซออยู่ข้างถนน ช่างเพราะดีเสียเหลือเกิน ทำนองร้องของแกก็ไพเราะไปในทางร้องและความก็ดีด้วย ส่วนทางซอของแกก็ไพเราะไปในทาง ดนตรี แต่ทั้งสองทางเข้ากันสนิทสนมกลมเกลียวดีเหลือเกิน ทำให้รู้สึกว่าตาสังขารนั้นเป็นคนเลิศประเสริฐมนุษย์ ทางที่แกเล่นก็คือหุ่นกระบอกเรานี่เอง แต่หุ่นกระบอกคนหนึ่งร้อง คนหนึ่งสีซอ”
ประวัติความเป็นมา
“การแสดงหุ่นมีการแสดงกันเกือบทุกชาติ เช่น จีน ชวา มอญ ญี่ปุ่น และฝรั่ง แต่วิธีการประกอบเครื่องกลไกให้ตัวหุ่นกระดิกไปมาและลักษณะตัวหุ่นแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละชาติ” ข้อความนี้นายสงวน อั้นคง กล่าวไว้เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญและความเป็นมาของหุ่นกระบอกของชาติต่างๆ เมื่อศึกษาถึงกำเนิดของหุ่นกระบอก มีหลักฐานให้สันนิษฐานได้ว่ามีการเล่นหุ่นชนิดต่าง ๆ ทั้งในซีกโลกตะวันออกและตะวันตก เกิดขึ้นในระยะเวลาพร้อม ๆ กัน การเล่นหุ่นในทางตะวันออกมีหลักฐานปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ คือมีการเล่นชนิดนี้นานประมาณ 300 ปีถึง 400 ปี ที่ผ่านมา และเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับหลักฐานที่ปรากฏในประเทศทางตะวันตก ในประเทศญี่ปุ่น การเล่นหุ่นเกิดขึ้นไล่เลี่ยกับการแสดงเกิดมีนิทาน นิยายและตำนานที่เล่าถ่ายทอดกันว่าการเล่นหุ่นนั้นเริ่มในประเทศจีนก่อน มุขปาฐะเหล่านี้เป็นแนวคิดอนุมานว่าการเล่นหุ่นจึงแพร่หลายสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียรวมทั้งอินเดียด้วย หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจึงได้รับการถ่ายทอดศิลปะการเล่นหุ่นนี้ไปอีกชั้นหนึ่ง การสันนิษฐานประการหลังนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน อาศัยเพียงเรื่องที่เล่าถ่ายทอดด้วยปาก และพิจารณาเปรียบเทียบกับศิลปะวัฒนธรรมอย่างอื่น ๆ ที่โลกได้รับจากอิทธิพลอารยธรรมของจีนละครโน (NO DRAMA) และการแสดงคาบูกิ (KABUKI) มีการค้นพบตัวหุ่นในโรงละครเหล่านี้ในคริสตศตวรรษที่ 17
ผู้ที่ช่วยให้หุ่นกระบอกมีชีวิตยืนยาวมาได้นับเป็นบุคคลสำคัญยิ่งผู้หนึ่ง คือนายเปียก ประเสริฐกุล เริ่มหัดฝึกฝนศิลปะการแสดงเชิดหุ่นกระบอก โดยเข้าร่วมในคณะของ ม.ร.ว. เถาะ พยัคฆเสนา เจ้าของคณะหุ่นกระบอกของไทยคณะแรก นายเปียกเป็นผู้ที่ใฝ่ใจและเกิดความซาบซึ้งในศิลปะการแสดงหุ่นกระบอก มีความมุ่งมั่นที่จะจรรโลงการละเล่นชนิดนี้ จึงคิดสร้างหุ่นกระบอกของตนเองขึ้นเมื่อพ.ศ. 2442 ชื่อว่า “หุ่นกระบอกคณะนายเปียก ประเสริฐกุล” จนเป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทย ต่อมานางชูศรี สกุลแก้วทายาทของนายเปียก ประเสริฐกุลได้ดำเนินกิจการแสดงหุ่นกระบอกต่อมา แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบกระเทือนต่อการแสดง หุ่น ทายาทของนายเปียกจึงตัดสินใจขายหุ่นกระบอกจำนวนหนึ่งให้แก่นายจักรพันธ์ โปษยกฤต ผู้สนใจใคร่ดำรงรักษาสมบัติศิลปะเก่าแก่ของชาตินี้ไว้ ต่อมาหุ่นกระบอกได้รับการซ่อมแซม ปรับปรุงจนวิจิตรงดงามตระการยิ่งขึ้นกว่าเดิม เท่ากับเป็นการชุบชีวิตหุ่นเหล่านี้ให้กลับฟื้นมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งและได้นำออกแสดงเพื่อการกุศลหลายครั้งได้รับความนิยมเป็นที่ชื่นชมจากผู้ได้ทัศนาทุกครั้งเป็นอันมาก
วิวัฒนาการสร้างหุ่นกระบอก
การสร้างศีรษะของหุ่นกระบอกมีวิธีการคือผู้ที่มีฝีมือทางแกะสลักจะต้องหาไม้สักทองเนื้อดี ไม่มีตาไม้เพราะจะยากแก่การแกะสลัก และการขัดเกลา มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ความยาวประมาณ 8 นิ้ว แล้วนำมาสลักให้เป็นรูปศีรษะ รูปหน้าตา และลำคอ โดยลำคอมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว และเจาะรูไว้ให้กว้างพอที่กระบอกไม้ไผ่รวกจะสอดเข้าได้โดยสะดวก ส่วนรูปหน้าและศีรษะจะยาวประมาณ 4 นิ้ว เมื่อสวมเสื้อคลุมทับอีกชั้นหนึ่งก็จะได้รูปลำคอที่พอดี เมื่อได้รูป ศีรษะที่ทำด้วยไม้เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจึงทาด้วยรักให้เรียบเกลี้ยงเกลาหลังจากนั้นจึงลงสีขาวเป็นพื้น แล้วเขียนหน้าตาอย่างเช่นตัวละคร เมื่อสีแห้งสนิทดีแล้วจึงแต่งผมสำหรับตัวพระ ใช้สีดำระบายเป็นผม แต่ถ้าเป็นตัวหุ่นละครซึ่งในบทมีผมยาว เช่น เงือก ก็ต้องประดิษฐ์ช้องผมยาวแล้วจึงนำมาประกอบกับศีรษะหุ่นนั้นภายหลัง
สิ่งสำคัญมากสำหรับการตกแต่งส่วนศีรษะของหุ่นกระบอกให้สวยงาม ประณีตคือ เครื่องประดับ ซึ่งต้องทำให้เหมือนของจริงทุกประการ โดยย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง เช่น ตัวพระที่เป็นเจ้าก็จะสวมชฎา ส่วนตัวนางที่เป็นเจ้าจะสวมมงกุฎกษัตรี นอกจากนี้ยังมีกรรณาเจียกจร และตุ้มหูด้วย ส่วนหุ่นกระบอกที่มิใช่เจ้าหรือนางกษัตริย์ก็จะมีเครื่องประดับอื่น เช่น เทริด และรัดแกล้าเป็นเครื่องประดับศีรษะแทน เครื่องประดับเหล่านี้ต้องติดตรึงไว้กับส่วนศีรษะของหุ่นให้แน่นหนา มักติดไว้ตายตัวเพราะป้องกันมิให้หลุดง่ายระหว่างการแสดง
ส่วนที่เป็นลำตัวคือกระบอกไม้ไผ่รวกยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ถึง 2 ฟุต สวมต่อเข้ากับลำคอของหุ่นให้แน่น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้วครึ่ง มีเรียวไม้ไผ่เล็กๆ อีก 2 อัน ขนาดความยาวเท่าปล้องไม้ไผ่ที่ทำเป็นลำตัว เรียงไม้ไผ่นี้ใช้ติดเข้าที่มือทั้งสองข้างให้แน่นหนาเพื่อจะได้เป็นสิ่งที่ใช้เช็ดมือของหุ่นให้ร่ายรำทำท่าต่างๆ
ส่วนประกอบของหุ่นกระบอกที่ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดนี้อยู่ภายในเสื้อคลุมไว้ให้มิดชิดวิธีตัดเย็บเสื้อคือผ้าต่วน แพรหรือไหมเนื้อดี มีความหนา ความกว้างประมาณ 2 ฟุต ยาวตั้งแต่ 4 ฟุตถึง 5 ฟุต มาพับครึ่ง ส่วนที่เป็นเส้นพับของผ้า ตรงกึ่งกลางเจาะเป็นช่องวงกลมให้มีขนาดพอเหมาะกับขนาดลำคอของหุ่น ริมสองข้างเย็บตั้งแต่ชายขึ้นมาจนเกือบทั้งร้อยสันทบ ปล่องทิ้งเป็นช่องกว้างพอเหมาะกับข้อมือของหุ่น ถ้าเป็นเสื้อของหุ่นกระบอกตัวนางก็ต้องนำผ้าอีกชิ้นหนึ่งที่มีสีตัดกันมาทำเป็นผ้าห่มนาง โดยทำเป็นสามเหลี่ยมที่ด้านหน้าของตัวเสื้อเสื้อของหุ่นกระบอกจะงดงามมากน้อยเพียงใดนั้นอยู่ที่ฝีมือการปัก และการใช้เครื่องประดับให้เข้ากับตัวเสื้อ
การเชิดหุ่นกระบอกและองค์ประกอบที่ช่วยให้การเชิดหุ่นดูงาม
วิธีการเชิดหุ่นผู้เชิดจะนั่งพับเพียบ มือซ้ายถือแกนกระบอก ตัวหุ่นไว้โดยยกให้ตัวหุ่นตั้งตรง การถือแกนไม้ให้มั่นคงแต่ต้องไม่ให้นิ่งอยู่กับที่อย่างเดียว ต้องพยายามให้มีการเอนตัวเคลื่อนไหวตามบทบาทลีลาของเรื่องด้วย ส่วนมือขวาใช้จับเรียวไม้ซึ่งต่อมาจากมือของหุ่นกระบอกทั้งสองข้าง โดยผู้เชิดจะใช้มือขวาบังคับความเคลื่อนไหวมือทั้งสองข้างซึ่งทำหน้าที่เสมือนกลไกให้หุ่นแสดงอาการด้วยมือตามท้องเรื่อง ถ้าหุ่นกระบอกไม่จำเป็นต้องทำอาการด้วยมือทั้งสองข้าง ผู้เชิดอาจนำเรียวไม้ที่ต่อจากมือข้างที่ไม่ต้องแสดงอาการนั้นฝากเหน็บไว้กับนิ้วมือซ้ายของผู้เชิด
1. การกล่อมตัว เป็นพื้นฐานของการเชิดหุ่นเช่นเดียวกับการหัดเขียนก.ไก่ เมื่อหัดกล่อมไหล่หุ่นจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย(โดยหัดกับกระจก)ได้นุ่มนวลดี คือหน้าหุ่นที่ตั้งอยู่บนไหล่จะไม่คว่ำไปหรือหงายไป แต่จะซ้อนหน้าเหมือนตัวละครกำลังกล่อมไหล่
2. การเชิดย้อนมือ คือแทงมือจากขวาไปซ้ายและจากซ้ายไปขวา หรือเรียกว่าป่วนไหล่ โดยระวังไม่ให้หน้าหุ่นคว่ำหรือหงาย มักเชิดในจังหวะ “ตุ๊บ - เท่ง ตุ๊บ – เท่ง”
3. กระทบตัว เหมือนจังหวะ “ยืด – ยุบ” ในท่ารำของโขนละคร
4. โยกตัว ในจังหวะ “ต้อม ต้อมม่า ต้อมต้อม...ตุม ตุม มา ตุม ตุม”
5. เพลงเร็ว คือการรำเพลงในจังหวะ “ตุ๊บ – ทิง ทิง...ตุ๊บ ทิง ทิง”
องค์ประกอบการเล่นหุ่นกระบอกไทย
องค์ประกอบสำคัญของการเล่นหุ่นกระบอกดังนี้
1.โรงหุ่นกระบอก 2. ฉาก 3. เครื่องดนตรีและทำนองเพลง
เครื่องดนตรีจะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ได้ทั้งนั้น แต่ในวงปี่พาทย์นี้จะต้องมีซออู้ กลองต๊อก – แต๊ง และม้าล่อ เป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย เพลงที่นิยมกันมากสำหรับการแสดงหุ่นกระบอกจนถือเป็นเอกลักษณ์คือการใช้ทำนองเพลง “สังขารา” ซึ่เงป็นทำนองเพลงของ ของโบราณมาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับการแสดงหุ่นกระบอก โดยมีซออู้สีเคล้าไปกับการขับร้องเป็นการดำเนินเรื่อง
วิวัฒนาการสร้างหุ่นกระบอก
1. หุ่นที่เชิดหรือแสดงโดยนิ้วมือ
2. หุ่นแบบใช้สายใยชักเชิด
3. หุ่นชนิดใช้แกนกระบอกเป็นลำตัว
4. หุ่นที่มีส่วนประกอบที่เป็นแกนกระบอกและสา
ยใยประสมกัน
การเล่นหุ่นกระบอกในปัจจุบันและแนวทางนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
- คณะหุ่นกระบอกของนายเปียก ประเสริฐกุล ปัจจุบันคุณป้าชูศรี (ชิ้น) สกุลแก้ว บุตรสาวรับมรดกดำเนินการแสดง ต่อมาได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ปี พ.ศ. 2529
- คณะหุ่นกระบอกของนายบุญรอด ประกอบนิล ศิษย์ของป้าหว่า ประเสริฐกุลบุตรสาวนายเปียก ประเสริฐกุล
- คณะหุ่นกระบอกของแม่เชวง อ่อนละม้าย จังหวัดนครสวรรค์
- คณะหุ่นกระบอกของนายจักรพันธ์ โปษยกฤต จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีความสนใจการประดิษฐ์และการเชิดหุ่นกระบอกอย่างจริงจัง ได้รับการถ่ายทอดวิชาการเชิดหุ่นจากคุณครูชื่น และคุณครูวงษ์ รวมสุข หุ่นกระบอกของนายจักรพันธ์มีความสวยงาม วิจิตรบรรจง แสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2518 นายจักรพันธ์ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
ในประเทศไทยและในต่างประเทศมีผู้นำเอาหุ่นกระบอกเป็นอุปกรณ์ประกอบบทเรียนต่าง ๆ เป็นอันมากแทบทุกวิชา เช่น ทางสาขา ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นำเอาหุ่นกระบอกมาดัดแปลงประยุกต์สร้างขึ้นหลายรูปแบบ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการแสดงหุ่นกระบอกในลักษณะแปลก ๆ ออกไปจากเดิม เช่น การประดิษฐ์หุ่นกระบอกของแผนกวิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น สาเหตุแห่งความนิยมคือหุ่นกระบอกสามารถนำไปแสดงเพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ชัดเจน แจ่มแจ้งทั้งเรื่องที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม หุ่นกระบอกใช้สอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดค่านิยมที่พึงปราถนาในทางศีลธรรม หรือเกิดความซาบซึ้งในพฤติกรรมอันดีงาม (นามธรรม) ขณะเดียวกันหุ่นกระบอกอาจใช้เป็นอุปกรณ์สอนเรื่องเพศศึกษา หรือภูมิศาสตร์เกี่ยวกับวัฏจักรของคน สัตว์ พืช (รูปธรรม) ได้ หุ่นกระบอกจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อวิชาการศึกษาในแง่เป็นอุปกรณ์การสอน
เอกลักษณ์ของภูมิปัญญา
หุ่นกระบอกจะงดงามมากน้อยเพียงใด นอกจากองค์ประกอบต่าง ๆ ของตัวหุ่นจะได้ มาตราฐานแล้ว เสื้อของหุ่นกระบอกเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งมีวิธีประดิษฐ์ไม่ยากนัก แต่ถ้าใช้ช่างเย็บปักถักร้อยที่มีฝีมือดี ใช้เวลาตัดเย็บนานก็จะได้เสื้อที่สวยงาม การปักเสื้อหุ่นกระบอกนิยมปักโดยใช้สะดึงขึงเสียก่อนแล้วจึงปักด้วยดิ้นทอง ดิ้นเงิน ลูกปัดและเลื่อมถ้าเสื้อเป็นผ้าตาดทองหรือเงินอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องปักด้วยดิ้น โดยลวดลายที่นิยมปักบนเสื้อหุ่นได้แก่ ลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลายปักที่ละเอียดมาก , ลายประจำยาม และกนกเครือเถา ต่าง ๆ ด้วย ถือว่ายิ่งปักได้ละเอียดเท่าใดก็จะยิ่งสวยงามมากขึ้นเท่านั้น ส่วนเครื่องประดับที่ติดอยู่กับตัวเสื้อเช่น กรองคอ ,อินทรธนู สำหรับตัวพระก็นิยมปักด้วยเพชรพลอยให้วูบวาบแพรวพราวเช่นกัน เมื่อหุ่นกระบอกจะถูกนำออกแสดงก็จะสวมเครื่องประดับเช่นละครรำให้แก่หุ่น เช่นสายสังวาลตามทิศทับทรวง เป็นต้น
นอกจากนี้สิ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงหุ่นกระบอกมาแต่โบราณคือการใช้ทำนองเพลง “สังขารา” ซึ่งเป็นทำนองเพลงโบราณมาดัดแปลงแก้ไข ให้เหมาะกับการแสดงหุ่นกระบอก โดยสีซออู้ควบคู่ไปกับการขับร้องในการดำเนินเรื่อง
คุณค่าและความเชื่อของภูมิปัญญา
ก่อนการแสดงหุ่นกระบอกเจ้าของคณะต้องนำหุ่นกระบอกตัวพระใหญ่ออกมารำไหว้ครู นอกจากนี้ในการสร้างส่วนที่เป็นศีรษะและหน้าตาของหุ่นกระบอกนั้น ต้องมีพิธีไหว้ครูเบิกเนตรหุ่นด้วย คล้ายกับการประดิษฐ์หัวโขน ถือเป็นสิ่งที่ต้องกระทำจะงดไม่ได้ ดังนั้นการเขียนดวงตาของหุ่นกระบอกจึงทำเป็นขั้นสุดท้าย และต้องทำในพิธีด้วย ซึ่งพิธีไหว้ครูจัดเป็นงานใหญ่ประจำปีปีละครั้ง
เมื่อรับงานแสดงเสร็จแล้วก็จะมีการนำเงินมาซื้อของเซ่นไหว้หุ่นทุกตัว ตัวที่สำคัญคือ “ตัวฤาษี” ดังเนื้อความซึ่งนางชูศรีเรียกว่า “พ่อแก่” เล่าว่า “พ่อแก่นี่ชอบทุเรียน ได้เงินมาก็ต้องซื้อทุเรียนถวาย พ่อเล่าว่าคุณมณีผู้สร้างหุ่นพ่อแก่นี้ใช้ดินจอมปลวกมาปั้นเป็นหัว” อย่างตัวสินสมุทรตัวนี้นี่
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของหุ่นกระบอกไทย
ในสมัยโบราณท่าทางของหุ่นกระบอกมากมายเช่นท่าออกโรงของหุ่นตัวพระ ตัวยักษ์ และท่าออกฉาก เข้าฉากของหุ่นตัวเอก ๆ ศิษย์จะต้องคอย “ครูพักลักจำ” ให้ได้ เพราะท่าทีบางอย่างของหุ่นสอนกันไม่ได้ นอกจากจะทำให้ดูตามความชำนาญของคูแต่ละคนเท่านั้น ซึ่งคนเชิดหุ่นเป็นมักจะไม่ให้วิชากับใครง่าย ๆ โดยเฉพาะคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกไม่ใช่หลานในวงศ์วานว่านเครือ หากจะให้ก็ต้องสาบานตัวมีสัญญาสาปแช่งต่าง ๆ ด้วยเกรงว่าศิษย์จะคิดล้างครูหรือเล่นประชัน เป็นการแย่งอาชีพตัดหน้ากันด้วยประการต่าง ๆ
การสะท้อนชีวิตของภูมิปัญญา
จากการศึกษาเรื่องหุ่นกระบอกไทยสมัยโบราณมีความเชื่อเรื่อง” ธงไล่ฝน “ ดังคำสัมภาษณ์นางชูศรี สกุลแก้ว ทายาทนายเปียก ประเสริฐกุล เล่าว่าการเล่นหุ่นกระบอกมีอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งคือฝน “สมัยพ่ออยู่มีธงไล่ฝน เป็นธงสามเหลี่ยมสีขาว มียันต์เก๊าเก่าพอฝนตั้งเค้ามา ออกไปยืนขาเดียวโบกธงไล่ฝนขอให้ผ่านไปก่อน ฟ้ายังงี้สว่างฝนไม่ตกเลยค่ะ พอเลิกเล่นฝนตกลงมาซู่ พวกลิเกยังงี้ยังกลัว”
นอกจากนี้ชีวิตของคนไทยสมัยก่อนต้องเดินทางโดยใช้เรือ เพราะแต่ก่อนไม่มีถนนใช้คลองแทนถนน จากคำสัมภาษณ์ของนางชูศรี สกุลแก้ว กล่าวถึงบางเวลาซึ่งถือว่าเป็น “หน้างาน” มีผู้ว่าจ้างไปแสดงหุ่นกระบอกแทบทุกคืน กล่าวว่า “เรียกว่าไม่ต้องขึ้นจากเรือเลย หุ่นเครื่องอะไร ๆ ก็อยู่ในเรือนี่แหละ เป็นเดือน ๆ เลยหุ่นไม่ได้ขนขึ้นบ้าน จากวัดนี้ไปวัดโน้นเล่นกันแทบทุกคืน”

สรุปและข้อเสนอแนะ
ชาติต่าง ๆ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมย่อมมีการแสดงมหรสพประจำชาติ รวมทั้งการแสดงหุ่นนั้นการละเล่นชนิดนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงความเจริญด้วยวัฒนธรรมของชาวไทยที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอารยประเทศใด แม้ว่าผู้ที่ซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทย จะพยายามจรรโลงการแสดงหุ่นกระบอกมากว่า 100 ปี ซึ่งทางสำนักนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์จัดทำภาพยนตร์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป หากหน่วยงานหรือสถาบันใดมีความประสงค์ใคร่ชมภาพยนตร์ทั้งสองชุดนี้และเผยแพร่ ก็แสดงความจำนงได้
อนึ่งเพลงที่ใช้ขับร้องประกอบการแสดงหุ่นกระบอกโดยเฉพาะ “เพลงสังขารา” นั้น ถ้าได้มีการศึกษาโดยใช้วิธีศึกษาดนตรีสากล เช่น การเขียนโน้ตสากล ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจในแง่ดนตรีและเป็นการช่วยให้การศึกษาเรื่องหุ่นกระบอกกว้างขวาง มีลักษณะเป็นสากลยิ่งขึ้น
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นย่อมพิสูจน์ให้เห็นความรักความหวงแหน และความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมของชาติโดยแท้จริง แม้ว่าวันนี้การแสดงหุ่นกระบอกหาดูได้ยากขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะหุ่นที่เชิดเล่นกันในปัจจุบันเป็นหุ่นกระบอกที่มีอายุยาวนานนับร้อยปีจึงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา การสร้างหุ่นกระบอกขึ้นมาใหม่ก็หาผู้ชำนาญยาก หุ่นกระบอกแต่ละตัวต้องอาศัยทั้งความละเอียดอ่อนและต้องรอบคอบอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หุ่นกระบอกตัวพระ” และ “หุ่นกระบอกตัวนาง”


วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาจากวรรณกรรมสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

• สุนทรภู่มีชีวิตในต้นรัตนโกสินทร์ กำเนิดในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถิ่นกำเนิดแถววังหลัง ธนบุรี
• เริ่มการศึกษาจากสำนักวังหลังวัดบางหว้าใหญ่,วัดบางหว้าน้อย และวัดชีปะขาว
• เริ่มรับราชการเป็นเสมียนนายระวาง กรมพระคลังหลวง แล้วเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังหลังในพระองค์ปฐมวงศ์
• ได้แต่งกลอนนิทานเรื่องแรกคือเรื่องโคบุตร ถวายเจ้าวังหลัง ต่อมาได้เขียนนิราศเมืองแกลง
• นิราศพระบาท เป็นเหตุให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้เข้ารับราชการเป็น อาลักษณ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนสุนทรโวหาร

จุดเด่นของวรรณกรรมสุนทรภู่•สุนทรภู่เป็นกวีไทย ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณคดีอันมีค่าสูงไว้เป็นจำนวนมากคือเป็นบิดาแห่งกลอนสุภาพ
•องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่เป็นกวีเอก ผู้มีผลงานด้านวัฒนธรรมดีเด่นของโลก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙
•สุนทรภู่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการร่วมมือกับนานาชาติในการเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมให้เป็นที่แพร่หลายทั่วโลก และเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในกวีนิพนธ์ของไทยอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

ผลงานและรูปแบบวรรณกรรม
• ผลงานวรรณกรรมต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งเป็นลักษณะ

- นิทาน สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพในการสร้างนิทาน โดยการสอดแทรกคติทั้งทางพุทธทางพราหมณ์ ความรู้ คัมภีร์ นิทาน ๕ เรื่องของท่านได้แก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพ

- สุภาษิต ท่านได้ประพันธ์วรรณกรรมประเภทนี้ไว้คือสุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาและเพลงยาวถวายโอวาท เช่น
“สุนทรทำคำสวัสดิรักษา

ถวายหน่อบพิตรอิศรา

ตามพระบาลีเฉลิมได้เพิ่มพูน

เป็นของคู่ผู้มีอิสริยยศ

จะปรากฏเกิดลาภไม่สาบสูญ
สืบอายุสุริยวงศ์ประยูร

ให้เพิ่มพูนภิญโญเดโชชัย

อย่าลืมหลงจงอุตส่าห์รักษาสิริ

ตามคติโบราณท่านขานไข

แต่เช้าตรู่สุริโยอโณทัย

ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา…”

-นิราศ คืองานประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลักด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้างลำบาก
และใช้เวลานาน เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม
และนิราศเมืองเพชร

“…นิราศเรื่องเมืองแกลงแต่งมาฝาก

เหมือนขันหมากมิ่งมิตรพิศมัย

อย่าหมางหมองข้องขัดตัดอาลัย

ให้ชื่นใจเหมือนแต่หลังมั่งเถิดเอย

-บทละคร : ท่านได้ประพันธ์บทละครเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องอภัยนุราช

-บทเสภา : ผลงานบทเสภาของท่านถือว่ามีคุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความปราณีตบรรจงในการแต่ง
กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะ สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิต และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจให้เห็นภาพ
และซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม เช่น บทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

- บทเห่กล่อม : แต่งขึ้นเพื่อร้องขับกล่อมให้เด็กหลับ บทเห่กล่อมของสามัญชนอาจมีเนื้อร้องปลอบขวัญ ให้ความ อบอุ่น
เนื้อร้องไม่กำหนดเรื่องราวเป็นแบบแผนแต่มีเนื้อหาสะท้อนให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัฒนธรรมตามสภาพท้องถิ่นนั้น
ผลงานของท่านคือเห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องกากี เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องจับระบำ



บทวิเคราะห์ภูมิปัญญาที่ได้จากวรรณกรรม
• ดนตรีไทย

• พระราชพิธี ประเพณี วัฒนธรรม

• การละเล่นของไทยโบราณ

• เครื่องมือดักจับสัตว์

• การสงครามและศาสตราวุธ

• เครื่องรางของขลัง

• เครื่องแต่งกาย

• เครื่องใช้ในครัวเรือน




วิถีชีวิต สภาพสังคมในอดีตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยังสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน ได้แก่
1. พิธีเวียนเทียน จากเรื่องพระอภัยมณีตอนอภิเษกหิสกันกับวันชายา

ปุโรหิตจุดเทียนแล้วเวียนแว่น

พลูคะแนนนับที่คัมภีร์ไสย

มะโหระทึกกึกก้องลั่นฆ้องชัย
ปี่ไฉนเป่าดังก้องกังวาน
ตั้งแตรสังข์พิณพาทย์ระนาดฆ้อง
ประสานซ้องสำเนียงส่งเสียงหวาน
พวกขับไม้มโหรีที่ชำนาญ
บรรเลงลานซอสีปี่ชวา
ครั้นเวียนครบสรรพเสร็จได้เจ็ดรอบ
ตามระบอบเวียนซ้ายแล้วย้ายขวา

ใบพลูดับเทียนพลันโบกควันมา

ตามตำราไสยเวทข้างเพศพราหมณ์
โดยไสยศาสตร์ค่อยประจงองค์ละสาม
แล้วจุณเจิมพระขนงวงนลาฏ
ทำไปตามข้างตำราในสามัญ



2. การเจิม จากเรื่องพระอภัยมณีตอนอภิเษกนรินทร์รัตน์กับนางเกศพัฒน์
พระบิตุลาบิตุรงค์พวกพงศา
ต่างก็มาจุณเจิมเฉลิมศรี
ให้สององค์จงพิพัฒน์สวัสดี

อยู่รู้มีทุกข์โศกโรคโรคา
3. บายศรี จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนอภิเษกสมรส
บายศรีเงินทองแก้วดูแวววับ
สามสำรับพานทองใส่ของหวาน
แว่นวิเชียรเทียนทองของตระการ
ปักบนพานทองเคียงไว้เรียงราย
ขวดกระแจะจวงจันทน์กลั่นเกสร
มะพร้าวอ่อนจัดแจงแต่งถวาย
เครื่องเฉลิมเจิมขวัญสุพรรณพราย
เอาจัดรายเรียงตั้งบัลลังก์ทอง
4. พระราชพิธีโสกันต์ จากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี การจัดขบวนแห่ก่อนถึงพระราชพิธี
เวลาบ่ายตั้งแห่ล้วนแตรสังข์
คนสะพรั่งปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
แล้วขึ้นเขาไกรลาสดั่งราชหงส์
ให้สระสรงธาราสุดาสมร
แล้วทรงเครื่องจินดาค่านคร
บทจรเยื้องย่างขึ้นปรางค์ชัย


ขนบธรรมเนียม ประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ที่ได้เปลี่ยนความนิยมไป
1. การกินหมาก การกินหมาก : เรื่องพระอภัยมณีมีการเชิญหมากพลู
“เรียกธิดามาเป็นคนปรนนิบัติ
ประจงจัดเครื่องอานพานพระศรี
ถวายองค์ทรงศักดิ์ด้วยภักดี
แล้วพาทีเพทุบายให้ตายใจ”
2. การละเล่นต่าง ๆ เช่น โมงครุ่ม , กุลาตีไม้ , แทงวิไสย , หกคะเมน , ลอดบ่วง , สามต่อ เป็นต้น
3. การสูบฝิ่น สูบกัญชา (ตุ่งกา) จากนิราศอิเหนา
ที่พื้นที่ปราบราบล้วนทราบอ่อน
เข้าดงดอนเลียบดินเนินกุหนุง
เทียนยี่หร่าป่าฝิ่นส่งกลิ่นฟุ้ง
สมส้มกุ้งโกฐจุฬาการบูร์









ความแพร่หลาย ความนิยมเครื่องมือเครื่องใช้ตราบจนปัจจุบัน










1.ดนตรีไทย แบบแผนโบราณมี 3 อย่างคือ

-วงปี่พาทย์ : กลองทัด, ระนาดทุ้ม, ฆ้องวงเล็ก, ปี่นอก
-เครื่องสาย : ซอด้วง, ซออู้, จะเข้, ขลุ่ย
-
-มโหรี : ซอ 3 สาย, พิณ, ทับ, กรับ
จากเรื่องพระอภัยมณี
อันท่านครูอยู่ตึกตำแหน่งนี้
ฝีปากปี่เป่าเสนาะเพราะหนักหนา
จึงดำรัสนตรัสแก่พระน้องยา
อันวิชาสิ่งนี้พี่ชอบใจ
และ
ได้เวลาฟ้าร้องตีฆ้องฤกษ์ พฤฒาเฒ่าเข้าเบิกขวัญบายศรี
บัณเฑาะว์ดังกังวานขานดนตรี พวกโหรีตีฆ้องโห่ก้องโกลา







2. หุ่นกระบอก
- สินสมุทร
- พระอภัยมณี
- นางสุวรรณมาลี
- นางวาลี

การเล่นหุ่นกระบอกตัวยักษี จากเรื่องพระอภัยมณี
จะกล่าวถึงอสุรีผีเสื้อน้ำ
อยู่ท้องถ้ำวังวนชลสาย
ได้เป็นใหญ่ในพวกปีศาจพราย
สกนธิ์กายโตใหญ่เท่าไอยรา
นิ่งพินิจพิศดูรู้ว่ายักษ์
ด้วยแววจักษุหายทั้งซ้ายขวา





3. เครื่องมือจับสัตว์น้ำ

-ข้อง

-ตะกร้า

-เบ็ด

-สุ่ม ฯลฯ
นิราศวัดเจ้าฟ้า กล่าวถึงการจับปลา ไว้ดังนี้
เขากินหมูหนูพัดจะกัดเกลือ
ไม่ถ่อเรือแหหาปลาตำแบ
และ
เมื่อกราบลาคลาเคลื่อนออกเลื่อนล่อง
เห็นหน้าน้องนามหุ่นนั่ง ชุน ถุง
และ
พวกโพงพางนางแม่ค้าขายปลาเต่า
จับกระเหม่ามิได้เหลือชั้นเรือแห
จะล่องลับกลับไปอาลัยแล
มาถึงแพเสียงนกแก้วแจ้วเจรจา




























4. เครื่องมือจับสัตว์บก

-จั่น

-หน้าไม้

-หอก ฯลฯ
นิราศเมืองแกลง เล่าถึงการออกล่าสัตว์ป่าของชาวบ้านและการดักจับเสือ ดังนี้
เวลาค่ำล้ำเหลือด้วยเสือกวาง
ปีปมาข้างเรือนเหย้าที่เรานอน
เขาดัก จั่น ชั้นในใส่สุนัข
มันหอบฮักดิ้นโดยแล้วโหยหวน







เครื่องมือของใช้ต่างๆ ในปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนความนิยมไป
1.เครื่องราง ของขลัง เครื่องปลุกเสก
-ตะกรุด

-แหวนพิรอด

-ปรอท
จากสวัสดิรักษา
“ อนึ่งเครื่องผูกลูกสะกดตระกรุดคาด
เข้าไสยาสน์ยามหลับทับฉลาย
เครื่องอาวุธสุดห้ามอย่าข้ามกราย
อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย
2. อาวุธที่ใช้ในการทำสงคราม

-ดาบ , หอก ,แหลน , หลาว , ศร , ดินดำ , กำมะถัน ฯลฯ
จากบทละครสิงหไกรภพ
“...ก็ยินยอมพร้อมใจทั้งนายไพร่
ใครมิได้แก่งแย่งจะแข็งขัน
จึงรวบรวมศัตราบรรดาปืน
ได้สักหมื่นหนึ่งถ้วนล้วนคาบชุด
กับหอกดาบกั้นหยั่นก็ครันครบ
เขาสมทบเกณฑ์ทัพจะสัปประยุทธ์
ครั้นพรั่งพร้อมโยธาถืออาวุธ
ก็รีบรุดตรงมายังธานี...”

จากเรื่องพระอภัยมณี : การป้องกันพระนครทางทะเล
“ที่ปากน้ำสำคัญอยู่แห่งหนึ่ง เอาโซ่ขึงค่ายคูดูรักษา
ให้ลากปืนป้อมฝรั่งขึ้นจังก้า คอยยิงข้าศึกให้บรรลัยลาญ”

3. เครื่องเรือนและภาชนะต่างๆ

-แท่นบรรทม

-กล่องถมทอง

-โต๊ะถมทอง
-โอ่ง

-ไห

-พ้อม ฯลฯ
จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนท้าวทศวงศ์ให้จัดห้องให้ศรีสุวรรณ
“ทั้งเครื่องอานพานพระศรีมีสำหรับ
เอาฉากพับขึงกั้นชั้นเฉลียง
ชวาลาอัจกลับสลับเรียง
ได้พร้อมเพรียงให้เจ้าพราหมณ์ตามโองการ




หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้


ผลงานของสุนทรภู่เป็นอมุขปาฐะ คือเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง
โดยการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของ นิราศ , เสภา , นิทานคำกลอน , สุภาษิต
, คติธรรม, บทละคร , บทเห่กล่อม มีความน่าเชื่อถือสูง


ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับ

1.วรรณคดีของสุนทรภู่เป็นการสะท้อนภาพชีวิต และสังคมวัฒนธรรม ด้วยประสบการณ์
ความรู้สึกนึกคิด คติธรรม สัจธรรม สามารถนำไปใช้ได้
ทุกยุคทุกสมัย และทุกชนชาติ


2. การอ่านวรรณกรรมของสุนทรภู่ ทำให้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ของไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเครื่องมือใช้ต่าง ที่หาดูได้ยาก
3. วรรณคดีของสุนทรภู่มีความสนุกสนาน ไพเราะ และมีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้เป็นข้อแนะนำ ข้อปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันเพื่อความเป็น
สิริมงคล

บทสรุป

ภูมิปัญญาของคนไทยสมัยโบราณที่ได้จากวรรณกรรมของสุนทรภู่ ที่ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน ควรที่จะดำรงรักษาไว้
และสืบทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชนให้เห็นคุณค่า อาจจัดเป็นนิทรรศการเพื่อก่อให้เกิดความทราบซึ้ง มีเนื้อหาสาระเป็น
ที่เข้าใจ เพื่อผลงานของท่านเป็นที่แพร่หลาย ในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ