วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาจากวรรณกรรมสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

• สุนทรภู่มีชีวิตในต้นรัตนโกสินทร์ กำเนิดในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถิ่นกำเนิดแถววังหลัง ธนบุรี
• เริ่มการศึกษาจากสำนักวังหลังวัดบางหว้าใหญ่,วัดบางหว้าน้อย และวัดชีปะขาว
• เริ่มรับราชการเป็นเสมียนนายระวาง กรมพระคลังหลวง แล้วเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังหลังในพระองค์ปฐมวงศ์
• ได้แต่งกลอนนิทานเรื่องแรกคือเรื่องโคบุตร ถวายเจ้าวังหลัง ต่อมาได้เขียนนิราศเมืองแกลง
• นิราศพระบาท เป็นเหตุให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้เข้ารับราชการเป็น อาลักษณ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนสุนทรโวหาร

จุดเด่นของวรรณกรรมสุนทรภู่•สุนทรภู่เป็นกวีไทย ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณคดีอันมีค่าสูงไว้เป็นจำนวนมากคือเป็นบิดาแห่งกลอนสุภาพ
•องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่เป็นกวีเอก ผู้มีผลงานด้านวัฒนธรรมดีเด่นของโลก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙
•สุนทรภู่ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการร่วมมือกับนานาชาติในการเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมให้เป็นที่แพร่หลายทั่วโลก และเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในกวีนิพนธ์ของไทยอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

ผลงานและรูปแบบวรรณกรรม
• ผลงานวรรณกรรมต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งเป็นลักษณะ

- นิทาน สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพในการสร้างนิทาน โดยการสอดแทรกคติทั้งทางพุทธทางพราหมณ์ ความรู้ คัมภีร์ นิทาน ๕ เรื่องของท่านได้แก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพ

- สุภาษิต ท่านได้ประพันธ์วรรณกรรมประเภทนี้ไว้คือสุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาและเพลงยาวถวายโอวาท เช่น
“สุนทรทำคำสวัสดิรักษา

ถวายหน่อบพิตรอิศรา

ตามพระบาลีเฉลิมได้เพิ่มพูน

เป็นของคู่ผู้มีอิสริยยศ

จะปรากฏเกิดลาภไม่สาบสูญ
สืบอายุสุริยวงศ์ประยูร

ให้เพิ่มพูนภิญโญเดโชชัย

อย่าลืมหลงจงอุตส่าห์รักษาสิริ

ตามคติโบราณท่านขานไข

แต่เช้าตรู่สุริโยอโณทัย

ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา…”

-นิราศ คืองานประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลักด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้างลำบาก
และใช้เวลานาน เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม
และนิราศเมืองเพชร

“…นิราศเรื่องเมืองแกลงแต่งมาฝาก

เหมือนขันหมากมิ่งมิตรพิศมัย

อย่าหมางหมองข้องขัดตัดอาลัย

ให้ชื่นใจเหมือนแต่หลังมั่งเถิดเอย

-บทละคร : ท่านได้ประพันธ์บทละครเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องอภัยนุราช

-บทเสภา : ผลงานบทเสภาของท่านถือว่ามีคุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความปราณีตบรรจงในการแต่ง
กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะ สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิต และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจให้เห็นภาพ
และซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม เช่น บทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

- บทเห่กล่อม : แต่งขึ้นเพื่อร้องขับกล่อมให้เด็กหลับ บทเห่กล่อมของสามัญชนอาจมีเนื้อร้องปลอบขวัญ ให้ความ อบอุ่น
เนื้อร้องไม่กำหนดเรื่องราวเป็นแบบแผนแต่มีเนื้อหาสะท้อนให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัฒนธรรมตามสภาพท้องถิ่นนั้น
ผลงานของท่านคือเห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องกากี เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องจับระบำ



บทวิเคราะห์ภูมิปัญญาที่ได้จากวรรณกรรม
• ดนตรีไทย

• พระราชพิธี ประเพณี วัฒนธรรม

• การละเล่นของไทยโบราณ

• เครื่องมือดักจับสัตว์

• การสงครามและศาสตราวุธ

• เครื่องรางของขลัง

• เครื่องแต่งกาย

• เครื่องใช้ในครัวเรือน




วิถีชีวิต สภาพสังคมในอดีตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยังสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน ได้แก่
1. พิธีเวียนเทียน จากเรื่องพระอภัยมณีตอนอภิเษกหิสกันกับวันชายา

ปุโรหิตจุดเทียนแล้วเวียนแว่น

พลูคะแนนนับที่คัมภีร์ไสย

มะโหระทึกกึกก้องลั่นฆ้องชัย
ปี่ไฉนเป่าดังก้องกังวาน
ตั้งแตรสังข์พิณพาทย์ระนาดฆ้อง
ประสานซ้องสำเนียงส่งเสียงหวาน
พวกขับไม้มโหรีที่ชำนาญ
บรรเลงลานซอสีปี่ชวา
ครั้นเวียนครบสรรพเสร็จได้เจ็ดรอบ
ตามระบอบเวียนซ้ายแล้วย้ายขวา

ใบพลูดับเทียนพลันโบกควันมา

ตามตำราไสยเวทข้างเพศพราหมณ์
โดยไสยศาสตร์ค่อยประจงองค์ละสาม
แล้วจุณเจิมพระขนงวงนลาฏ
ทำไปตามข้างตำราในสามัญ



2. การเจิม จากเรื่องพระอภัยมณีตอนอภิเษกนรินทร์รัตน์กับนางเกศพัฒน์
พระบิตุลาบิตุรงค์พวกพงศา
ต่างก็มาจุณเจิมเฉลิมศรี
ให้สององค์จงพิพัฒน์สวัสดี

อยู่รู้มีทุกข์โศกโรคโรคา
3. บายศรี จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนอภิเษกสมรส
บายศรีเงินทองแก้วดูแวววับ
สามสำรับพานทองใส่ของหวาน
แว่นวิเชียรเทียนทองของตระการ
ปักบนพานทองเคียงไว้เรียงราย
ขวดกระแจะจวงจันทน์กลั่นเกสร
มะพร้าวอ่อนจัดแจงแต่งถวาย
เครื่องเฉลิมเจิมขวัญสุพรรณพราย
เอาจัดรายเรียงตั้งบัลลังก์ทอง
4. พระราชพิธีโสกันต์ จากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี การจัดขบวนแห่ก่อนถึงพระราชพิธี
เวลาบ่ายตั้งแห่ล้วนแตรสังข์
คนสะพรั่งปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
แล้วขึ้นเขาไกรลาสดั่งราชหงส์
ให้สระสรงธาราสุดาสมร
แล้วทรงเครื่องจินดาค่านคร
บทจรเยื้องย่างขึ้นปรางค์ชัย


ขนบธรรมเนียม ประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ที่ได้เปลี่ยนความนิยมไป
1. การกินหมาก การกินหมาก : เรื่องพระอภัยมณีมีการเชิญหมากพลู
“เรียกธิดามาเป็นคนปรนนิบัติ
ประจงจัดเครื่องอานพานพระศรี
ถวายองค์ทรงศักดิ์ด้วยภักดี
แล้วพาทีเพทุบายให้ตายใจ”
2. การละเล่นต่าง ๆ เช่น โมงครุ่ม , กุลาตีไม้ , แทงวิไสย , หกคะเมน , ลอดบ่วง , สามต่อ เป็นต้น
3. การสูบฝิ่น สูบกัญชา (ตุ่งกา) จากนิราศอิเหนา
ที่พื้นที่ปราบราบล้วนทราบอ่อน
เข้าดงดอนเลียบดินเนินกุหนุง
เทียนยี่หร่าป่าฝิ่นส่งกลิ่นฟุ้ง
สมส้มกุ้งโกฐจุฬาการบูร์









ความแพร่หลาย ความนิยมเครื่องมือเครื่องใช้ตราบจนปัจจุบัน










1.ดนตรีไทย แบบแผนโบราณมี 3 อย่างคือ

-วงปี่พาทย์ : กลองทัด, ระนาดทุ้ม, ฆ้องวงเล็ก, ปี่นอก
-เครื่องสาย : ซอด้วง, ซออู้, จะเข้, ขลุ่ย
-
-มโหรี : ซอ 3 สาย, พิณ, ทับ, กรับ
จากเรื่องพระอภัยมณี
อันท่านครูอยู่ตึกตำแหน่งนี้
ฝีปากปี่เป่าเสนาะเพราะหนักหนา
จึงดำรัสนตรัสแก่พระน้องยา
อันวิชาสิ่งนี้พี่ชอบใจ
และ
ได้เวลาฟ้าร้องตีฆ้องฤกษ์ พฤฒาเฒ่าเข้าเบิกขวัญบายศรี
บัณเฑาะว์ดังกังวานขานดนตรี พวกโหรีตีฆ้องโห่ก้องโกลา







2. หุ่นกระบอก
- สินสมุทร
- พระอภัยมณี
- นางสุวรรณมาลี
- นางวาลี

การเล่นหุ่นกระบอกตัวยักษี จากเรื่องพระอภัยมณี
จะกล่าวถึงอสุรีผีเสื้อน้ำ
อยู่ท้องถ้ำวังวนชลสาย
ได้เป็นใหญ่ในพวกปีศาจพราย
สกนธิ์กายโตใหญ่เท่าไอยรา
นิ่งพินิจพิศดูรู้ว่ายักษ์
ด้วยแววจักษุหายทั้งซ้ายขวา





3. เครื่องมือจับสัตว์น้ำ

-ข้อง

-ตะกร้า

-เบ็ด

-สุ่ม ฯลฯ
นิราศวัดเจ้าฟ้า กล่าวถึงการจับปลา ไว้ดังนี้
เขากินหมูหนูพัดจะกัดเกลือ
ไม่ถ่อเรือแหหาปลาตำแบ
และ
เมื่อกราบลาคลาเคลื่อนออกเลื่อนล่อง
เห็นหน้าน้องนามหุ่นนั่ง ชุน ถุง
และ
พวกโพงพางนางแม่ค้าขายปลาเต่า
จับกระเหม่ามิได้เหลือชั้นเรือแห
จะล่องลับกลับไปอาลัยแล
มาถึงแพเสียงนกแก้วแจ้วเจรจา




























4. เครื่องมือจับสัตว์บก

-จั่น

-หน้าไม้

-หอก ฯลฯ
นิราศเมืองแกลง เล่าถึงการออกล่าสัตว์ป่าของชาวบ้านและการดักจับเสือ ดังนี้
เวลาค่ำล้ำเหลือด้วยเสือกวาง
ปีปมาข้างเรือนเหย้าที่เรานอน
เขาดัก จั่น ชั้นในใส่สุนัข
มันหอบฮักดิ้นโดยแล้วโหยหวน







เครื่องมือของใช้ต่างๆ ในปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนความนิยมไป
1.เครื่องราง ของขลัง เครื่องปลุกเสก
-ตะกรุด

-แหวนพิรอด

-ปรอท
จากสวัสดิรักษา
“ อนึ่งเครื่องผูกลูกสะกดตระกรุดคาด
เข้าไสยาสน์ยามหลับทับฉลาย
เครื่องอาวุธสุดห้ามอย่าข้ามกราย
อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย
2. อาวุธที่ใช้ในการทำสงคราม

-ดาบ , หอก ,แหลน , หลาว , ศร , ดินดำ , กำมะถัน ฯลฯ
จากบทละครสิงหไกรภพ
“...ก็ยินยอมพร้อมใจทั้งนายไพร่
ใครมิได้แก่งแย่งจะแข็งขัน
จึงรวบรวมศัตราบรรดาปืน
ได้สักหมื่นหนึ่งถ้วนล้วนคาบชุด
กับหอกดาบกั้นหยั่นก็ครันครบ
เขาสมทบเกณฑ์ทัพจะสัปประยุทธ์
ครั้นพรั่งพร้อมโยธาถืออาวุธ
ก็รีบรุดตรงมายังธานี...”

จากเรื่องพระอภัยมณี : การป้องกันพระนครทางทะเล
“ที่ปากน้ำสำคัญอยู่แห่งหนึ่ง เอาโซ่ขึงค่ายคูดูรักษา
ให้ลากปืนป้อมฝรั่งขึ้นจังก้า คอยยิงข้าศึกให้บรรลัยลาญ”

3. เครื่องเรือนและภาชนะต่างๆ

-แท่นบรรทม

-กล่องถมทอง

-โต๊ะถมทอง
-โอ่ง

-ไห

-พ้อม ฯลฯ
จากเรื่องพระอภัยมณี ตอนท้าวทศวงศ์ให้จัดห้องให้ศรีสุวรรณ
“ทั้งเครื่องอานพานพระศรีมีสำหรับ
เอาฉากพับขึงกั้นชั้นเฉลียง
ชวาลาอัจกลับสลับเรียง
ได้พร้อมเพรียงให้เจ้าพราหมณ์ตามโองการ




หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้


ผลงานของสุนทรภู่เป็นอมุขปาฐะ คือเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง
โดยการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของ นิราศ , เสภา , นิทานคำกลอน , สุภาษิต
, คติธรรม, บทละคร , บทเห่กล่อม มีความน่าเชื่อถือสูง


ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับ

1.วรรณคดีของสุนทรภู่เป็นการสะท้อนภาพชีวิต และสังคมวัฒนธรรม ด้วยประสบการณ์
ความรู้สึกนึกคิด คติธรรม สัจธรรม สามารถนำไปใช้ได้
ทุกยุคทุกสมัย และทุกชนชาติ


2. การอ่านวรรณกรรมของสุนทรภู่ ทำให้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ของไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเครื่องมือใช้ต่าง ที่หาดูได้ยาก
3. วรรณคดีของสุนทรภู่มีความสนุกสนาน ไพเราะ และมีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้เป็นข้อแนะนำ ข้อปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันเพื่อความเป็น
สิริมงคล

บทสรุป

ภูมิปัญญาของคนไทยสมัยโบราณที่ได้จากวรรณกรรมของสุนทรภู่ ที่ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน ควรที่จะดำรงรักษาไว้
และสืบทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชนให้เห็นคุณค่า อาจจัดเป็นนิทรรศการเพื่อก่อให้เกิดความทราบซึ้ง มีเนื้อหาสาระเป็น
ที่เข้าใจ เพื่อผลงานของท่านเป็นที่แพร่หลาย ในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก